Make Me Mango
ประเทศไทยเราเป็นสวรรค์ของคนรักมะม่วง ยิ่งมะม่วงสุกรสหวานฉ่ำ ปอกทานกันสดๆ ชื่นใจดีแล้ว ยังมีการนำไปประยุกต์เป็นเมนูของหวานอีกมากมายอย่าง สมูทตี้, ไอศกรีม, บิงซู หรือจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วงเนื้อละมุนที่ทานกันได้ไม่เบื่อ ถูกใจกันทั่วทั้งคนไทยเองและชาวต่างชาติที่มาเยือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน ถึงแม้ว่ามะม่วงเป็นผลไม้ที่หาทานได้ตามฤดูกาล มีเพียง 3-4 เดือนต่อปี แต่ที่ Make me mango (เมค มี แมงโก้) มีให้ได้ทานกันตลอดทั้งปี
ความเป็นมาของร้าน
เริ่มจากการเติบโตในครอบครัวที่ชื่นชอบการทานมะม่วง คุณพลอยไพลิน กรประเสริฐวิทย์ ได้มีแรงบันดาลใจที่จะเปิดคาเฟ่มะม่วงเป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า Make Me Mango สาขาแรกที่ท่าเตียนก่อตั้งจากสถานที่บ้านของตัวเองซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวพอดี ผ่านมาเป็นเวลา 2 ปีกว่า คุณพลอยไพลินได้เปิดสาขาที่ 5 ที่ โครงการ The Market ประตูน้ำ ชั้น G
ถึงแม้ว่าฤดูกาลของมะม่วงนั้นครอบคลุมแค่ประมาณ 3-4 เดือนใน 1 ปี ร้าน Make Me Mango ได้มีการคัดสรรค์มะม่วงน้ำดอกไม้ชั้นนำให้แก่คนรักมะม่วงยาวตลอดทั้งปี ทีมงานของโอมิเซะได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับคุณพลอยไพลินที่สาขาเซนทรัลเวิล์ดชั้น 3 ถึงเรื่องราวความเป็นมาของร้านและบทบาทของโอมิเซะในการเติบโตของธุรกิจ
“ทำธุรกิจตอนนี้การแข่งขันสูง ร้านขนมมีอยู่แทบจะทุกหัวมุมถนน ทางร้านต้องการที่จะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้า การสร้างความแตกต่างให้ลูกค้าประทับใจไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเมนูที่ดึงดูด แต่เกิดจากประสบการณ์โดยรวม เริ่มตั้งแต่ลูกค้าก้าวเข้ามาในร้าน การต้อนรับของพนักงาน บรรยากาศ ความสะดวกสบายในการสั่งอาหารและเครื่องดื่ม รวมไปถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนอาจมองข้ามไปอย่างเรื่องการชำระเงิน”
ก่อนหน้านี้ทางร้านรับเพียงเงินสดในบางสาขา แต่เมื่อเราขยายเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าจึงตัดสินใจที่จะขยายช่องทางการชำระเงินให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ตอนนี้สาขาที่คิงพาวเวอร์ ซอยรางน้ำ (ชั้น 3) เป็นที่นิยมสำหรับลูกค้าชาวจีน มีทัวร์นักท่องเที่ยวชาวจีนค่อนข้างมากและมะม่วงก็เป็นสินค้าที่นิยมกับคนกลุ่มนี้ สำหรับสาขาไอคอนสยาม ทากาชิมายา (ชั้น UG) และสาขาเซนทรัลเวิลด์ (ชั้น 3) เป็นสาขาที่มีกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติและคนไทยผสมผสานกัน คนทั่วโลกที่ชอบทานมะม่วงมักจะแวะมาที่ร้านเสมอ
รายงานจาก Nielsen พบว่า 92% ของนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเลือกเข้าร้านที่รับอาลีเพย์และ 91% อาจซื้อสินค้าที่ร้านนั้นๆ มากขึ้น
การรับมือกับพฤติกรรมใช้จ่ายของชาวจีน
เราสังเกตว่าคนจีนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยนิยมพกเงินสดกัน การเปิดรับชำระเงินผ่านอาลีเพย์ที่ร้านได้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีมาก
การที่มีป้ายอาลีเพย์ติดอยู่หน้าร้านจะเหมือนเป็นการเชิญชวนให้ชาวจีนเดินเข้ามาในร้านเราเพราะมันง่ายสำหรับเขา ในฐานะผู้ประกอบการ เราจะพยายามหาทางเลือกที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับลูกค้าเสมอ การที่เรามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายก็ช่วยให้ลูกค้าเราจ่ายเงินง่ายและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจเราด้วย อย่างในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรามีรายการจากอาลีเพย์เกือบ 600 รายการ
ชาวจีนใช้อาลีเพย์เหมือนเป็นอวัยวะที่ 33 ที่ไหนที่มีอาลีเพย์ที่นั่นจะมีการใช้จ่ายของชาวจีนเสมอ
การใช้โอมิเซะเพย์ช่วยดึงดูดลูกค้าชาวจีนได้อย่างไร?
เราเชี่ยวชาญด้านขนมหวาน ไม่มีประสบการณ์เรื่องการเชื่อมต่อระบบอะไรแบบนี้เลย ก่อนเริ่มใช้โอมิเซะเรามีความกังวลอยู่เหมือนกันว่าระบบจะใช้งานยากไหม เราไม่ได้มีนักพัฒนาในทีม จะเริ่มอย่างไร จะเชื่อมต่อเองได้หรือเปล่า กระทั่งเริ่มใช้งานจริงๆ กลับง่ายกว่าที่คิดไว้มาก เราส่งเอกสารเพื่อขอเปิดบัญชีโอมิเซะ แล้วก็โหลดแอปพลิเคชันโอมิเซะเพย์มาก็เริ่มต้นรับอาลีเพย์ได้แล้ว
เมื่อเริ่มใช้งานจริงๆ ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร อินเตอร์เฟสใช้ง่าย มีภาษาอังกฤษหรือไทยให้เลือกด้วย เทรนแป๊บเดียวพนักงานเราก็ใช้เป็นแล้ว หลังๆ พอพนักงานเห็นว่าเป็นกลุ่มคนจีนก็จะเตรียมเปิดแอปฯ เพื่อสแกนคิวอาร์โค้ดทันที ที่สำคัญคือเราไม่ต้องกังวลเรื่องการอัพเดตระบบเลย เพราะโอมิเซะดูแลให้ทั้งหมด เราแค่กดอัพเดตแอปพลิเคชันในเครื่องเท่านั้นเอง
เสน่ห์ของการรับคิวอาร์โค้ด
การที่ร้านค้าสามารถใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อสแกนจ่ายเงินได้สร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว ช่วยลดอุปสรรคในการชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกังวลถึงเหรียญหรือธนบัตรต่างๆ และให้ลูกค้าเลือกช้อปสินค้าของร้านแบบไร้ความกังวล สำหรับตัวร้านค้าเองช่องทางการชำระแบบไร้เงินสดก็ช่วยเพิ่มความรวดเร็วเมื่อต้องจัดการกับลูกค้าจำนวนมากพร้อมๆ กัน
ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่นิยมใช้เงินสดแต่เรากำลังมุ่งหน้าพัฒนาไปสู่ระบบที่ต้องพึ่งพาเงินสดน้อยลง การที่สมัครใช้โอมิเซะเพย์เป็นทางเลือกในการชำระเงินจะสนับสนุนให้ลูกค้าถือเงินสดน้อยลงและไม่ต้องห่วงเรื่องการวิ่งหาเอทีเอ็ม และให้ร้านค้าไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินทอน