เก็บตกประเด็นสำคัญจากงาน "Features Unlocked"
และแล้วงาน Open house ครั้งที่ 2 ของปี 2562 ของโอมิเซะ Features Unlocked
ก็จบลงไปด้วยดี
ในงานครั้งนี้ โอมิเซะได้ประกาศ 2 ช่องทางการรับชำระเงินใหม่ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการซื้อขายให้กับกลุ่มลูกค้าที่เกาะติดกระแสเทคโนโลยีสังคมไร้เงินสด ในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ทีมนักพัฒนาของโอมิเซะได้ทำงานเพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มตัวเลือกและความคล่องตัวในการรับชำระเงินให้กับทั้งธุรกิจและผู้บริโภค
ในที่สุด โอมิเซะก็ได้จับมือร่วมกับซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เพื่อเปิดตัวช่องทางการชำระเงินใหม่ล่าสุด เพย์วิธพอยท์
ซึ่งขณะนี้อยู่ในเวอร์ชัน Beta การรับชำระเงินผ่านช่องทางเพย์วิธพอยท์จะเพิ่มตัวเลือกในการจ่ายเงินให้กับผู้ถือบัตรเครดิตซิตี้โดยสามารถใช้คะแนนสะสมบัตรเครดิตใช้จ่ายแทนเงินสดได้
งานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณวรท หงุ่ยตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจบัตรเครดิต ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เข้าบรรยายเกี่ยวกับเพย์วิธพอยท์ และนี่คือประเด็นหลักๆ ที่คุณวรทได้พูดถึง;
- ผู้ถือบัตรซิตี้เป็นกลุ่มที่มักจะไม่เก็บคะแนนสะสมในบัตรเอาไว้เฉยๆ แต่จะชอบนำไปแลกใช้แทนเงินสดเพราะรู้สึกว่าใช้คะแนนแล้วไม่เสียเงิน เหมือนได้รับของหรือบริการฟรี
- ผู้ถือบัตรซิตี้มีคะแนนสะสมบัตรเครดิตมากที่สุดและมีอัตราการใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ถือบัตรเครดิตแบรนด์อื่นๆ
- การเปิดรับชำระผ่านเพย์วิธพอยท์จะช่วยกระตุ้นยอดขายให้ร้านค้าและช่วยให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายมากขึ้น
- ซิตี้ใช้การส่ง SMS เจาะจงไปยังกลุ่มผู้ถือบัตรที่มีคะแนนสะสมจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นการแลกคะแนนและพบว่าวิธีนี้มีผลลัพท์ที่ดี มีอัตราการคลิก (click-through rate) สูงถึง 20%
- โอมิเซะ x ซิตี้แบงก์ = ร้านค้าคุณภาพ x ผู้บริโภคคุณภาพ
ร้านค้าที่สนใจเปิดรับชำระผ่านบริการ เพย์วิธพอยท์ สามารถติดตามอัปเดตจากโอมิเซะผ่านช่องทางต่างๆ โดยคาดว่าบริการนี้จะพร้อมเปิดให้บริการแก่ร้านค้าทั้งหมดได้เร็วๆ นี้
นอกจากการเปิดตัวเพย์วิธพอยท์แล้ว โอมิเซะยังได้แนะนำช่องทางรับชำระเงินใหม่ผ่าน ทรูมันนี่วอลเล็ท (TrueMoney Wallet) ซึ่งเป็น e-wallet ที่มีการใช้งานมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทางทีมได้มีการทดสอบระบบมาระยะหนึ่งแล้วและขณะนี้ก็พร้อมให้ร้านค้าผู้ใช้บริการโอมิเซะลงทะเบียนใช้งานแล้ว งาน open house ครั้งนี้โอมิเซะยังได้รับเกียรติจากคุณ นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ผู้อำนวยการฝ่ายทางพาณิชย์ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ประเทศไทย เข้ามาแชร์มุมมองเกี่ยวกับ e-wallet ในประเทศไทย ใจความสำคัญๆ ที่คุณนิรันดร์ได้กล่าวถึงมีดังนี้
- ทรูมันนี่ก่อตั้ง e-wallet ขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่จะให้ผู้บริโภคชำระเงินซื้อสินค้าทุกประเภทได้อย่างคล่องตัวมากขึ้นพร้อมผลักดันกระแสสังคมไร้เงินสด
- ทรูมันนี่วอลเล็ทคือคำตอบในการชำระเงินสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น นักศึกษา กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน และผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิต เป็นต้น
- ผู้ใช้งานทรูมันนี่วอลเล็ทส่วนใหญ่ใช้จ่ายกับสินค้าดิจิทัล เช่น อีคอมเมิร์ซ ชำระเงินออนไลน์ต่างๆ และการซื้อของในแอป (in-app purchases)
- อัตราการใช้ทรูมันนี่วอลเล็ทไม่ได้สูงเพียงแค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้นแต่มีการใช้จ่ายที่สูงทั่วประเทศ โดยปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้ซื้อของใน 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศไทย
- เป้าหมายสูงสุดของ e-wallet คือการเข้ามาทดแทนกระเป๋าสตางค์อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้การใช้จ่ายเกิดขึ้นได้ภายในแอป
สำหรับผู้บรรยายคนสุดท้าย คุณรรินทร์ ทองมา ผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่น O&B ได้เข้ามาเล่าเรื่องราวและเบื้องหลังความสำเร็จของการก่อตั้งแบรนด์แฟชั่นบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คุณรรินทร์ได้ฝากข้อคิดไว้ดังนี้
- ผู้บริโภคที่ชอบช้อปปิ้งตามร้านใช้เวลาตัดสินใจซื้อของเร็วกว่า ส่วนผู้บริโภคที่ชอบซื้อของออนไลน์จะระมัดระวังในการใช้เงินมากกว่า เพราะว่าไม่ได้เห็นสินค้าจริงๆ และมีตัวเลือกที่หลากหลาย
- การตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย หนึ่งในนั้นคือความเรียบง่ายของเว็บไซต์และความสะดวกในการชำระเงิน ซึ่งทำให้ตัดสินใจซื้อของได้เร็วขึ้น
- ระบบผ่อนชำระของโอมิเซะช่วยเชื่อมร้านค้ากับผู้บริโภคได้มากขึ้น การมีตัวเลือกผ่อนชำระจะทำให้ผู้บริโภคกล้าจ่ายกับสินค้าที่แพงขึ้น
- ร้านค้าควรคำนึงถึงวิธีที่จะช่วยกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อขายของผู้บริโภคให้มากขึ้นเพื่อให้จบการขายได้เร็วขึ้น (impulse buying behavior)
- ผู้บริโภคกำลังรอรูปแบบการขายของที่ทันสมัยและพร้อมตอบโจทย์ได้ดีกว่าเดิม เยอะกว่าเดิม และเร็วกว่าเดิม ธุรกิจทุกประเทศควรเตรียมตัวเพื่อตามกระแสและตอบรับความต้องการของผู้บริโภคให้ทันอยู่เสมอ
โอมิเซะเชื่อในพลังการรับชำระเงินด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อเพิ่มสะดวกสบายให้ผู้บริโภค การที่โอมิเซะจับมือกับซิตี้แบงก์และทรูมันนี่ทำให้เราขยับเข้าสู่จุดมุ่งหมายของบริษัทได้มากขึ้น นั่นก็คือ 'Payment for everyone' โอมิเซะเชื่อว่าสองช่องทางการรับชำระเงินใหม่ที่ได้เปิดตัวขึ้นมาในงานนี้จะส่งผลดีและช่วยให้ร้านค้าเติบโตได้เร็วขึ้น ทั้งนี้เราอยากแนะนำให้ร้านค้าผู้ใช้บริการโอมิเซะเกาะติดเทรนด์อุตสาหกรรมการชำระเงิน (payment trends) และคอยติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภค (consumer behavior) เพื่อตอบสนองกับความต้องการในความสะดวกสบายของการชำระเงิน สุดท้ายนี้โอมิเซะอยากจะขอขอบคุณทุกๆ คนที่ได้มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับสาระความรู้จากงาน Features Unlocked ของเรา โอมิเซะรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีการรับชำระเงินและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันกระแสสังคมไร้เงินสดในประเทศไทย
บทความอื่นๆ
ขอบคุณ!
ขอบคุณที่ลงทะเบียนกับโอมิเซะ