มือใหม่ทำเดลิเวอรี่เริ่มยังไงดี ต้องมีอะไรบ้าง?
เดลิเวอรี่ส่งอาหารถึงประตูบ้านแทบจะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตของเราไปแล้ว เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแบบนี้ เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร คาเฟ่ ต่างๆ ก็จำเป็นต้องปรับตัวตามไปด้วย
แม้การเว้นระยะห่างทางสังคม เก็บตัวอยู่ที่บ้าน งดนั่งทานที่ร้านอาจไม่ใช่อะไรที่อยู่กับเราตลอดไป แต่หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว พฤติกรรมการสั่งอาหารกลับบ้านหรือสั่งเดลิเวอรี่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับความนิยมสูงขึ้นไปอีก ด้วยธุรกิจส่งอาหารมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ระหว่างปี 2014 ถึง 2018 เติบโตขึ้นปีละกว่า 10% ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของร้านอาหารซึ่งอยู่ที่ 3-4% ต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน และในปี 2019 ที่ผ่านมานี้เองธุรกิจจัดส่งอาหารไทยเติบโต 14% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็น 8% ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารทั้งหมดในประเทศไทย* สถานการณ์และมาตรการทางสังคมต่างๆ ที่มีการบังคับใช้ในปัจจุบันเป็นตัวช่วยกระตุ้น ผลักดันการเติบโตของธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าไม่สายที่ร้านอาหาร คาเฟ่ รวมถึงร้านกาแฟต่างๆ จะปรับตัวเพิ่ม “สาขาออนไลน์” เข้ามาเป็นอีกหนึ่งช่องทาง
ในบทความนี้เรามี 3 คำแนะนำดีๆ สำหรับเจ้าของร้านอาหารและคาเฟ่ที่กำลังจะเริ่มต้นทำเดลิเวอรี่
ช่องทางการติดต่อและสั่งอาหารเข้าถึงง่าย
หากคิดจะเริ่มขายอาหารออนไลน์แล้ว ช่องทางการโปรโมทร้าน แสดงเมนู ติดต่อสื่อสาร และสั่งอาหารต้องเข้าถึงได้ง่าย เราเชื่อว่าเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และไลน์ น่าจะเป็นช่องทางแรกๆ ที่เจ้าของร้านนึกถึง ซึ่งร้านอาหารส่วนใหญ่ก็น่าจะใช้กันอยู่แล้วด้วย แต่โซเชียลมีเดียและแอปแชท ไม่ได้เกิดมาเพื่อรองรับการขายอาหารเต็มตัว รับวันละ 10 ออเดอร์ก็จัดการกันเหนื่อยแล้ว
เพื่อให้การทำงานภายในร้านเป็นระบบระเบียบและสามารถรองรับออเดอร์ที่มากขึ้นในอนาคต การมีเว็บไซต์ของตัวเองเพื่อใช้ควบคู่ไปกับสื่อโซเชียลเป็นเรื่องสำคัญ
Tips! การทำแพลตฟอร์มของตัวเอง ไม่ผ่านตัวกลาง ถือเป็นการลงทุนในระยะยาว เพราะนอกจากจะไม่ต้องมีการหักค่าคอมมิชชันให้ตัวกลางแล้ว เจ้าของร้านยังมีข้อมูลดีๆ ในมือ สามารถเช็ค insight จากช่องทางต่างๆ เช่น จำนวนการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ คำที่คนนิยมใช้ค้นหาร้าน แหล่งที่มาและข้อมูลของผู้เข้าชม เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจลูกค้า นำไปใช้ทำการตลาด เพื่อช่วยขยายฐานลูกค้าได้
มีแพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์
เพราะการทำเดลิเวอรี่ ลูกค้ากดออเดอร์เข้ามาได้หลายทาง พนักงานที่ดูแลหน้างานควรมีแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยจัดคิว ทำให้สามารถจัดการกับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ หากมีหลายสาขาควรจะต้องแยกได้ชัดเจน สามารถเปิด/ปิดเมนูพิเศษของแต่ละสาขาหรือโปรโมชันตามช่วงเวลาได้ง่าย
เมื่อลูกค้าสั่งอาหารเข้ามาแล้ว ควรต้องมีระบบรับชำระเงินมารองรับให้ลูกค้าชำระค่าอาหารได้ง่าย และที่สำคัญมีอีเมลหรือข้อความแจ้งเตือนเพื่อยืนยันออเดอร์
นอกจากการจัดการหน้างานแล้ว ตัวเจ้าของร้านที่คอยดูภาพรวมยอดขายและบัญชี ต้องมี report ที่สามารถดาวน์โหลดออกมานำไปใช้ต่อได้ง่าย และที่สำคัญควรจะต้องมีการเก็บข้อมูลย้อนหลังด้วย
Tips: การเก็บข้อมูลการขายย้อนหลังสามารถช่วยเจ้าของร้านดูยอดขายรายวันและรายสัปดาห์ได้ เมนูกลุ่มไหนขายดี สามารถนำไปใช้ควบคู่กับระบบ inventory เพื่อเพิ่มหรือลดการสั่งซื้อวัตถุดิบตามความจำเป็น ช่วยเรื่องการบริหารจัดการสต็อคได้ด้วย
มีคนส่งตลอดและบริการได้เร็ว
หัวใจของการทำเดลิเวอรี่คือการจัดส่งของอร่อยให้ลูกค้าถึงที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว เดี๋ยวนี้ร้านอาหารไม่จำเป็นจะต้องจ้างพนักงานขี่มอเตอร์ไซค์ส่งเองแล้ว สามารถพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการเอกชนได้ ช่วยลดต้นทุนทั้งการจ้างพนักงาน ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อมสภาพต่างๆ ลงไป ช่วงไหนที่ขายดีมากๆ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความล่าช้า เพราะคนส่งมีจำนวนมาก และหากเป็นจุดส่งใกล้ๆ กัน ก็จะมีบริการเพิ่มจุดส่งของ ทางร้านไม่ต้องเรียกคนขับใหม่ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทาง
เพื่อความราบรื่นในการดูแลหน้างาน ระบบจัดการออเดอร์และการเรียกคนขับควรเชื่อมต่อกัน เมื่ออาหารพร้อมพนักงานที่คอยคุมอยู่ก็สามารถกดเรียกคนขับได้เลย
ไม่ใช่มือโปร ก็จัดการทั้งหมดนี้ได้ แค่มีตัวช่วยดี
Delivery lab (เดลิเวอรี่ แลบ) หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของโอมิเซะ มีบริการสร้างเว็บไซต์พร้อมเชื่อมต่อระบบจัดส่ง Lalamove และระบบรับชำระเงินออนไลน์โอมิเซะ เป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารเริ่มต้นทำออนไลน์และมีระบบเดลิเวอรี่เป็นของตัวเองแบบครบวงจร ใช้เวลาเพียง 2 อาทิตย์ก็สามารถเริ่มรับออเดอร์ออนไลน์ได้แล้ว
ลองเข้าไปปรึกษาเบื้องต้นกับทีมงาน Delivery lab ก่อนได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก:
- Bangkok Post
- Kasikorn Research
- Statista
บทความอื่นๆ
ขอบคุณ!
ขอบคุณที่ลงทะเบียนกับโอมิเซะ