6 นาที

ผ่อน 0 % = ไม่มีการคิดดอกเบี้ยจริงหรือ?

Palin

cover pic

รู้หรือไม่ว่า บัตรเครดิตที่เราถืออยู่ นอกจากสามารถใช้เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้แล้ว ยังสามารถใช้ผ่อนสินค้าได้อีกด้วย การผ่อนชำระที่ว่านี้ก็คือการแบ่งยอดชำระเต็มออกเป็นงวดย่อยๆ ให้ผู้ซื้อค่อยๆ แบ่งจ่ายรายเดือน อาจจะ 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน แล้วแต่เงื่อนไขและข้อกำหนดของธนาคารผู้ออกบัตร ในบางครั้งสามารถผ่อนได้นานถึง 36 เดือนเลยก็มี ลองคิดเล่นๆ ดูว่าผ่อนโทรศัพท์มือถือ 3 ปี ตอนซื้อใหม่กริบ ผ่อนยังไม่ทันหมดหนี้ มือถือตัวดีก็ตกไปสองรุ่นแล้ว

ข้อดีของการผ่อนชำระคือจะช่วยลดภาระผู้ซื้อลงไปได้ทำให้รายจ่ายต่อเดือนลดลงไป ไม่ต้องใช้เงินก้อนในคราวเดียว เปลี่ยนจากการชำระค่าสินค้าเต็มจำนวนเป็นการแบ่งจ่ายด้วยยอดที่น้อยลงในแต่ละเดือน การผ่อนชำระมีข้อดีดังกล่าวอยู่ก็จริงแต่จะต้องไม่ลืมด้วยว่าทางสถาบันการเงินที่ทำการออกบัตรก็จะมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยอยู่ด้วย โดยจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคาเต็มของสินค้า ตามระยะเวลาที่ผ่อนจ่าย ซึ่งตรงนี้จะเป็นยอดเงินที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาสินค้าจริง

ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านค้ามีโปรโมชันผ่อนชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิตด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% กันอยู่บ่อยๆ ผู้ซื้อสามารถผ่อนชำระรายเดือนได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีก แบบนี้เท่ากับว่าทางธนาคารผู้ออกบัตรไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยหรือเปล่า?

เรามาทำความเข้าใจรูปแบบของการผ่อนชำระสินค้าและบริการกันก่อน ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

ในกรณีนี้ร้านค้าจะมีการแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะเรียกเก็บตามระยะเวลาที่ผู้ซื้อต้องการผ่อนชำระ โดยอัตราดอกเบี้ยที่คิดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกำหนดของธนาคารผู้ออกบัตร และระยะเวลาที่ผู้ซื้อต้องการผ่อนชำระ

ตัวอย่างเช่น จอห์นซื้อรองเท้าราคา 10,000 บาท และเลือกที่จะผ่อนชำระเป็นเวลา 10 เดือนด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.60% ต่อเดือน คิดเป็นดอกเบี้ย 0.60% x 10,000 = 60 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าจอห์นจะต้องจ่ายค่ารองเท้าเดือนละ 1,060 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นเวลาทั้งหมด 10 เดือน

2. ร้านค้าเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

ในกรณีที่ร้านค้ารับภาระดอกเบี้ยแทนผู้ซื้อ หรือที่เราคุ้นหูกันว่า โปรฯ ผ่อน 0% ธนาคารจะหักดอกเบี้ยออกจากเงินก้อนของร้านค้า และเรียกเก็บค่างวดรายเดือนจากผู้ซื้อเอง

pic1TH

Adidas Predator Accelerator TR - CBLAVK/FTWWHT/RED

จะเห็นได้ว่าในการผ่อนชำระนั้นจะมีการคิดดอกเบี้ยอยู่ เพียงแต่จะเป็นฝ่ายใดที่เป็นผู้รับผิดชอบดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ทางร้านค้าหรือฝั่งผู้ซื้อ ในบทความนี้เราขอยกตัวอย่างจาก ร้านอาริฟุตบอล หนึ่งในร้านค้าที่เปิดใช้บริการระบบผ่อนชำระกับโอมิเซะอยู่ ทางร้านเลือกที่จะทำเป็นโปรฯ ผ่อนแบบ 0 % คือเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยแทนลูกค้า การทำโปรโมชันแบบนี้จะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายของทางร้านได้ ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ไม่มีเรื่องดอกเบี้ยมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเพิ่มเติม

ในการผ่อนชำระนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการแบ่งจ่ายจากทางผู้ซื้อแต่ทางร้านค้าจะได้รับยอดชำระเต็มจำนวนทันที โดยธนาคารจะเรียกเก็บค่างวดผ่อนชำระจากผู้ซื้อเอง หากร้านค้าเลือกเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยธนาคารก็จะหักดอกเบี้ยออกจากยอดก้อนใหญ่นี้ก่อนส่งให้ร้านค้า วิธีนี้จะยังทำให้ร้านค้าได้รับเงินก้อนเช่นเดิม แต่เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ซื้อในการแบ่งจ่ายกับธนาคารอีกด้วย เหมาะกับธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูง

เช่น I: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

สินค้าราคา 20,000 บาท ผู้ซื้อเลือกผ่อนชำระ 4 เดือน ร้านค้าจะได้ยอด 20,000 บาทหลังหักภาษีและค่าธรรมเนียมตั้งแต่เดือนแรก ธนาคารจะเรียกเก็บค่างวด 4 เดือนและดอกเบี้ยจากผู้ซื้อเอง

เช่น II: ร้านค้าเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ย

สินค้ายอด 20,000 บาท ผู้ซื้อเลือกผ่อนชำระ 4 เดือน ร้านค้าจะได้ยอด 20,000 บาทหลังหักภาษี ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนแรก ธนาคารจะเรียกเก็บค่างวด 4 เดือนจากผู้ซื้อเอง

pic2TH

หน้าชำระเงินที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์และการผ่อนชำระผ่านธนาคารต่างๆ

บัตรเดบิตผ่อนชำระได้หรือไม่?

คนส่วนใหญ่มีบัตรเดบิต เพราะมักจะได้มาตอนเปิดบัญชีอยู่แล้ว เป็นลูกครึ่งระหว่างบัตรเครดิตกับออนไลน์แบงก์กิ้ง เพราะสามารถใช้ได้เหมือนบัตรเครดิต เพียงแต่ว่ายอดเงินจะถูกตัดจากบัญชีที่บัตรเดบิตผูกไว้ทันทีเหมือนออนไลน์แบงก์กิ้ง แต่มีสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า คือในกรณีที่ยกเลิกการซื้อ สามารถคืนเงิน (refund) เข้าบัตรเดบิตได้เลย แต่หากใช้ออนไลน์แบงก์กิ้งแล้วโอนผิด หรือขอคืนยอดเงินจะไม่สามารถทำได้

ทั้งนี้บัตรเดบิตจะไม่สามารถทำผ่อนชำระได้ เนื่องจากเป็นการตัดยอดจากบัตรที่ผูกไว้กับบัญชีโดยตรง วิธีที่สามารถทำได้คือ การตัดเงินอัตโนมัติ (recurring payment) จะเป็นการจำบัตรของผู้ซื้อไว้ เพื่อตัดยอดรายเดือน รายสัปดาห์ หรือตามวันที่กำหนดให้ตัดยอด เหมาะสำหรับธุรกิจที่จำเป็นต้องรับชำระเงินยอดเดิมเป็นประจำซ้ำๆ (subscription model) เช่น ค่าสมาชิกฟิตเนส หรือแพคเกจดูหนังแบบรายเดือน เป็นต้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ระบบตัดเงินอัตโนมัติรายเดือน (recurring payment) ต่างจากการผ่อนชำระอย่างไร?

ในส่วนของระบบตัดเงินแบบรายเดือนร้านค้าจะได้รับยอดเป็นรายเดือน และไม่มีการคิดดอกเบี้ย ตัวอย่างเช่น สมาชิกฟิตเนส 4 เดือนคิดราคา 20,000 บาท ทางฟิตเนส (ร้านค้า) จะได้ยอด 5,000 บาท ทุกๆ เดือนเป็นเวลา 4 เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่หากเป็นการผ่อนชำระ ร้านค้าจะได้รับยอด 20,000 บาทหลังหักภาษี ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนแรก จากธนาคารผู้ออกบัตรของผู้ซื้อนั่นเอง

หากร้านค้าใดสนใจระบบผ่อนชำระผ่านช่องทางออนไลน์กับโอมิเซะ สามารถเลือกแบ่งชำระได้สูงสุด 36 เดือนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร กำหนดยอดขั้นต่ำ 5,000 บาทต่อรายการ สามารถรวมสินค้าหลายชิ้นได้ ปัจจุบันรองรับบัตรเครดิต 5 ประเภท สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Supported card brands
Installment plans

ร้านค้าออนไลน์สามารถเริ่มต้นรับผ่อนชำระบัตรเครดิตได้ผ่านโอมิเซะง่ายๆ เพียง 2 ขั้นตอน

  1. สมัครใช้งานโอมิเซะที่ https://dashboard.omise.co/signup จากนั้นกรอกข้อมูลและส่งเอกสารเพื่อขอเปิด “โหมดใช้งานจริง” ที่มุมซ้ายบน หรือสามารถติดต่อทีมงานขายของเราได้ที่ด้านล่างนี้ทันที

  2. การติดตั้งระบบของโอมิเซะเข้ากับเว็บไซต์ของร้านค้า สามารถศึกษาขั้นตอนได้ที่คู่มือนี้ หากติดขัดตั้งไหนสามารถติดต่อทีมงาน technical support ของเราได้ทันทีผ่าน support@omise.co หรือจะเข้าไปที่ forum.omise.co ก่อนก็ได้

บทความอื่นๆ

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารดีๆ จากโอมิเซะ
ขอบคุณ!

ขอบคุณที่ลงทะเบียนกับโอมิเซะ

เว็ปไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว