การปฏิเสธรายการ

หัวข้อทั้งหมดในหน้านี้

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ถือบัตรพบข้อขัดข้องจากการชำระเงินอาจยื่นเรื่องปฏิเสธรายการ (dispute) ต่อธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อคัดค้านการเรียกเก็บเงินที่ปรากฏในรายการบัญชีบัตรเครดิต (statement) โดยส่วนใหญ่แล้วการปฏิเสธรายการมักนำไปสู่กระบวนการการปฏิเสธการชำระเงิน (chargeback)

สาเหตุที่ผู้ถือบัตรปฏิเสธรายการ

การปฏิเสธการชำระเงินเกิดขึ้นได้จากเหตุผลหลายประการ สาเหตุที่พบบ่อยๆ มีดังนี้:

  • ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ
  • สินค้าที่ได้รับไม่ตรงตามรายละเอียดที่ร้านค้าแจ้งไว้
  • เป็นรายการที่เกิดจากการตัดเงินอัตโนมัติ (เช่น ระบบสมาชิก) และระบบไม่ได้ยกเลิกรายการตามที่ผู้ถือบัตรแจ้ง
  • ชำระเงินซ้ำหรือชำระเงินผ่านช่องทางอื่นๆ แล้ว

ตัวอย่างด้านบนนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิเสธรายการด้วยสาเหตุจากการค้า (commercial dispute) รายการแบบนี้เป็นรายการที่ผู้ถือบัตรอนุมัติรายการจริงแต่ไม่พอใจในสินค้าหรือบริการที่ได้รับ

หากรายการไม่ได้รับการอนุมัติโดยผู้ถือบัตร (เช่น บัตรหายหรือถูกโจรกรรม) การปฏิเสธรายการแบบนี้เรียกว่าการปฏิเสธรายการด้วยสาเหตุจากการทุจริต (fraud dispute) สาเหตุเกิดจาก:

  • เป็นรายการทุจริต

สาเหตุนี้คือสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเมื่อเกิดการปฏิเสธรายการ

ส่วนมากแล้วการปฏิเสธรายการจะเกิดจากการที่ผู้ถือบัตรยื่นเรื่องต่อธนาคาร ทั้งนี้หากเป็นรายการทุจริตทางธนาคารอาจเลือกดำเนินการแทนผู้ถือบัตรโดยอัตโนมัติ

ขอบเขตความรับผิดชอบ

Opn Paymentsร้านค้า
  • เฝ้าระวังและยับยั้งรายการที่ส่อเป็นการทุจริต
  • ตรวจสอบอัตราการปฏิเสธรายการของร้านค้า
  • จัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำวิธีจัดการกับการปฏิเสธรายการแก่ร้านค้า
  • ใช้เครื่องมือหรือบังคับใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดรายการทุจริต
  • ใช้มาตรการเพื่อลดรายการทุจริตหรือการปฏิเสธรายการด้วยสาเหตุจากการค้า
  • สื่อสารกับผู้ซื้อเพื่อไกล่เกลี่ยและยุติกรณี อาจคืนเงินหรือวิธีการอื่นๆ
  • ยอมรับหรือปฏิเสธการปฏิเสธรายการ
  • รวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของรายการ

การเฝ้าระวังและควบคุมการทุจริต

รายการรับชำระเงินที่ผ่าน Opn Payments ทั้งหมดจะได้รับการประเมิน ควบคุม และตรวจสอบ

  • การสมัครใช้งาน: ธุรกิจที่จัดอยู่ในประเภทที่มีความเสี่ยงสูง เช่น สินค้าที่นำไปจำหน่ายต่อได้ง่าย เราจะขอให้ร้านค้าเปิดใช้งานระบบ 3DS สำหรับการรับชำระเงินทุกรายการ
  • ตรวจสอบบัตร (pre-authorization): เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ทำรายการเป็นเจ้าของบัตรจริง เราจะตรวจสอบหมายเลขบัตรที่ใช้ทำรายการกับรหัส CVV และที่อยู่จัดส่ง (ถ้ามี) สำหรับบัตรที่ออกโดยธนาคารในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดาจะใช้ระบบ Address verification system (AVS)
  • Tokenization: เพื่อลดความเสี่ยงที่หมายเลขบัตรเครดิตจะถูกเปิดเผย ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริต เราใช้เทคโนโลยี tokenization เพื่อแปลงข้อมูลบัตรเป็นชุดรหัส (token)
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงของรายการ: เราวิเคราะห์รายการรับชำระเงินทุกๆ รายการอย่างใกล้ชิด โดยพิจารณาจากหลายปัจจัยเพื่อดูความเป็นไปได้ว่าจะเป็นการทุจริตหรือไม่ หากมีความเป็นไปได้เราอาจยับยั้งการทำรายการหรือบังคับการทำรายการผ่าน 3DS เป็นรายกรณี โดยรายการเหล่านี้จะแสดงข้อขัดข้อง failed_fraud_check ปัจจัยต่างๆ ที่เราใช้ในการพิจารณาคือ:
    • ความถี่ในการใช้บัตรใบเดิมทำรายการ โดยเราจะยับยั้งการใช้งานบัตรที่มีการใช้งานซ้ำๆ ติดต่อกัน เนื่องจากบ่อยครั้งพบว่ามิจฉาชีพพยายามใช้วงเงินคงเหลือในบัตร
    • ความถี่ในการใช้บัตรทำรายการจาก IP address เดิมซ้ำๆ หรือใช้ในบริเวณใกล้เคียง (IP geolocation)
    • ใช้บัตรทำรายการที่มียอดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
    • คะแนนความเสี่ยงที่วิเคราะห์จากพฤติกรรมการใช้งาน
  • ทบทวนรายการ: ภายหลังการตัดวงเงินแล้วเรายังมีมาตรการในการตรวจสอบรายการรับชำระเงินเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการป้องกันให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมถึงยับยั้งมิจฉาชีพหรือการใช้งานบัตรที่ถูกโจรกรรมผ่านระบบ Opn Payments มาตรการต่างๆ ที่เราใช้คือ ตรวจจับพฤติกรรมการใช้งานและความผิดปกติ เราตั้งค่าระดับการเฝ้าระวังแตกต่างกันสำหรับร้านค้าแต่ละแห่ง ทีมงานจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยจะทบทวนและอัปเดตให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
เว็ปไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว