ShopeePay QR
หัวข้อทั้งหมดในหน้านี้
ร้านค้าสามารถเพิ่มช่องทางรับชำระเงินผ่าน ShopeePay โดยเชื่อมต่อผ่าน API ที่โอมิเซะได้เตรียมไว้ ช่องทางรับชำระเงินนี้ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินแก่ผู้ซื้อ โดยสามารถเลือกชำระผ่าน ShopeePay ที่ได้ลงทะเบียนใช้งานไว้แล้วได้เลย ลดขั้นตอนการกรอกข้อมูลบัตร ช่วยให้จบขั้นตอนการชำระเงินได้เร็วขึ้น
คู่มือฉบับนี้จะช่วยเป็นแนวทางการอธิบายขั้นตอนการรับชำระเงินผ่าน ShopeePay
การเปิดรับชำระเงิน
- ประเทศที่รองรับ: มาเลเซีย, ประเทศไทย, สิงคโปร์
- API เวอร์ชันล่าสุดที่รองรับ:
2017-11-02
ร้านค้าที่ต้องการเปิดใช้ระบบ ShopeePay กรุณาส่งอีเมลมาที่ support@opn.ooo ทางทีมงานโอมิเซะจะส่งข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการให้ร้านค้าได้พิจารณาและลงลายมือชื่อก่อนเปิดใช้งานจริง
ขั้นตอนการชำระเงิน
ผู้ซื้อที่เลือกชำระเงินผ่าน ShopeePay จะผ่านกระบวนการชำระเงินแบบที่เรียกว่า ออฟไซต์ คือผู้ซื้อจะต้องเป็นฝ่ายยืนยันการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของ ShopeePay เพื่อทำรายการ
เมื่อผู้ซื้อเลือกชำระเงินด้วยบริการ ShopeePay ผู้ซื้อจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บไซต์ที่แสดงคิวอาร์โค้ดเพื่อทำรายการ ภาพประกอบด้านล่างแสดงขั้นตอนการชำระเงินผ่านการชำระเงินผ่านเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์
❶ ผู้ซื้อเลือกวิธีการชำระเงินที่ต้องการ ❷ หลังจากนั้นจะมีการแสดงหน้าคิวอาร์โค้ด ❸ ผู้ซื้อเปิดแอปพลิเคชัน ShopeePay เพื่อสแกนคิวอาร์โค้ด ❹ ผู้ซื้อสแกนคิวอาร์โค้ด ❺ หน้าจอจะแสดงรายละเอียดการชำระเงินให้ผู้ซื้อยืนยันการชำระเงิน ❻ ผู้ซื้อยืนยันรายการผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ซื้อสามารถเลือกกลับไปที่หน้าของร้านค้าได้ โดยคลิกที่ปุ่มกลับสู่ร้านค้า
ผู้ใช้ ShopeePay สามารถทำรายการชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้:
ช่องทางชำระเงินที่รองรับ | ประเทศไทย | สิงคโปร์ | มาเลเซีย |
---|---|---|---|
Wallet Balance | ✅ | ✅ | ✅ |
บัตรเครดิต | ✅ | ||
การหักบัญชีอัตโนมัติ / หักบัญชีธนาคาร | ✅ |
การติดตั้งใช้งาน
ในการสร้างรายการรับชำระเงินผ่านShopeePay ให้ร้านค้าส่งคำสั่ง API ดังนี้
- สร้าง payment source (
type
:shopeepay
) โดยใช้ Omise.js, omise-ios หรือ omise-android - สร้าง charge โดยใช้ source จากขั้นตอนแรก
- เมื่อผู้ซื้อทำรายการสำเร็จและร้านค้าได้รับ webhook event หรือ
charge.complete
แล้ว เราแนะนำให้ตรวจสอบสถานะรายการด้วยตนเองอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ
การสร้าง source เพื่อรับชำระเงินผ่านShopeePay จะเกิดขึ้นในฝั่งของผู้ซื้อ (client-side) เช่นบนเว็บไซต์หรือโทรศัพท์มือถือของผู้ซื้อ ร้านค้าจะต้องใช้ public key
ส่วนการสร้างรายการ (charge) เพื่อรับชำระเงินผ่านShopeePay จะเกิดขึ้นในฝั่งของร้านค้า (server-side) ร้านค้าจะต้องใช้ secret key
หมายเหตุ: หากมีความจำต้องสร้างทั้งรายการและ source ในฝั่งร้านค้า (server-side) สามารถทำพร้อมกันได้เลยโดยการส่งคำสั่ง API เพียงครั้งเดียว และใช้งาน secret key
การสร้าง source
เมื่อผู้ซื้อเลือกชำระเงินผ่านช่องทางนี้ ให้ร้านค้าสร้าง source ผ่าน source API โดยกำหนด amount
, currency
, และ type
Parameter | Type | Description |
---|---|---|
amount |
integer | (required) |
currency |
string | (required) (THB สำหรับประเทศไทย, SGD สำหรับสิงคโปร์, MYR สำหรับมาเลเซีย) |
type |
string | (required) shopeepay |
ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นการสร้าง source สำหรับรายการ ShopeePay จำนวน ฿1500
ให้แทนค่าของ omise_public_key
และ $OMISE_PUBLIC_KEY
ด้วย test public key ของร้านค้าซึ่งสามารถคัดลอกได้จาก แดชบอร์ด
หากใช้ Omise.js parameter
type
เป็นตัวแปรที่จำเป็นของฟังก์ชันcreateSource
Omise.setPublicKey(omise_public_key);
Omise.createSource('shopeepay', {
"amount": 150000,
"currency": "THB"
}, function(statusCode, response) {
console.log(response)
});
หากร้านค้าต้องการทดสอบให้สร้าง request โดยใช้ curl
curl https://api.omise.co/sources \
-u $OMISE_PUBLIC_KEY: \
-d "amount=150000" \
-d "currency=THB" \
-d "type=shopeepay"
{
"object": "source",
"id": "src_test_5twkt01jrxbj44e9xfq",
"livemode": false,
"location": "/sources/src_test_5twkt01jrxbj44e9xfq",
"amount": 150000,
"barcode": null,
"bank": null,
"created_at": "2022-11-23T18:10:59Z",
"currency": "THB",
"email": null,
"flow": "redirect",
"installment_term": null,
"absorption_type": null,
"name": null,
"mobile_number": null,
"phone_number": null,
"platform_type": null,
"scannable_code": null,
"references": null,
"store_id": null,
"store_name": null,
"terminal_id": null,
"type": "shopeepay",
"zero_interest_installments": null,
"charge_status": "unknown",
"receipt_amount": null,
"discounts": []
}
ตัวแปรของ id
คือ source identifier (เริ่มต้นด้วย src
)
การสร้างรายการรับชำระเงิน
สร้างรายการรับชำระเงินโดยระบุ parameter return_uri
, source
, amount
และ currency
return_uri
จะเป็นตำแหน่งบนเว็บไซต์ของร้านค้าที่ผู้ซื้อจะถูกส่งไปเมื่อยืนยันรายการสำเร็จreturn_uri ต้องเป็น HTTPS ฟอร์แมต.
source
จะเป็นตัวกำหนด source identifieramount
และcurrency
จะต้องมีค่าตรงกับamount
และcurrency
ของ source
Opn แนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปรเหล่านี้ในรายการรับชำระเงิน ได้แก่
net
,fee
,fee_vat
และtransaction_fees
จนกว่าสถานะรายการรับชำระเงินsuccessful
ตัวอย่างด้านล่างนี้แสดงการสร้างรายการรับชำระเงินผ่าน ขึ้นใหม่โดยใช้ curl
ในการสร้างรายการให้ร้านค้าแทน $OMISE_SECRET_KEY
ด้วย test secret key ของร้านค้าซึ่งสามารถคัดลอกได้จากแดชบอร์ด และแทน $SOURCE_ID
ด้วย id
ของ source
curl https://api.omise.co/charges \
-u $OMISE_SECRET_KEY: \
-d "amount=150000" \
-d "currency=THB" \
-d "return_uri=http://example.com/orders/345678/complete" \
-d "source=$SOURCE_ID"
{
"object": "charge",
"id": "chrg_test_5twkt05fnd6i9splb4v",
"location": "/charges/chrg_test_5twkt05fnd6i9splb4v",
"amount": 150000,
"net": 0,
"fee": 0,
"fee_vat": 0,
"interest": 0,
"interest_vat": 0,
"funding_amount": 150000,
"refunded_amount": 0,
"transaction_fees": {
"fee_flat": null,
"fee_rate": null,
"vat_rate": "0.0"
},
"platform_fee": {
"fixed": null,
"amount": null,
"percentage": null
},
"currency": "THB",
"funding_currency": "THB",
"ip": null,
"refunds": {
"object": "list",
"data": [],
"limit": 20,
"offset": 0,
"total": 0,
"location": "/charges/chrg_test_5twkt05fnd6i9splb4v/refunds",
"order": "chronological",
"from": "1970-01-01T00:00:00Z",
"to": "2022-11-23T18:11:00Z"
},
"link": null,
"description": null,
"metadata": {},
"card": null,
"source": {
"object": "source",
"id": "src_test_5twkszqvyufad6n8is1",
"livemode": false,
"location": "/sources/src_test_5twkszqvyufad6n8is1",
"amount": 150000,
"barcode": null,
"bank": null,
"created_at": "2022-11-23T18:10:58Z",
"currency": "THB",
"email": null,
"flow": "redirect",
"installment_term": null,
"absorption_type": null,
"name": null,
"mobile_number": null,
"phone_number": null,
"platform_type": null,
"scannable_code": null,
"references": null,
"store_id": null,
"store_name": null,
"terminal_id": null,
"type": "shopeepay",
"zero_interest_installments": null,
"charge_status": "pending",
"receipt_amount": null,
"discounts": []
},
"schedule": null,
"customer": null,
"dispute": null,
"transaction": null,
"failure_code": null,
"failure_message": null,
"status": "pending",
"authorize_uri": "https://pay.omise.co/payments/pay2_test_5twkt05haq05bler7ju/authorize",
"return_uri": "http://example.com/orders/345678/complete",
"created_at": "2022-11-23T18:11:00Z",
"paid_at": null,
"expires_at": "2022-11-30T18:11:00Z",
"expired_at": null,
"reversed_at": null,
"zero_interest_installments": true,
"branch": null,
"terminal": null,
"device": null,
"authorized": false,
"capturable": false,
"capture": true,
"disputable": false,
"livemode": false,
"refundable": false,
"reversed": false,
"reversible": false,
"voided": false,
"paid": false,
"expired": false
}
การสร้าง source และรายการรับชำระเงิน
ร้านค้าสามารถสร้างทั้ง source และ รายการรับชำระเงิน (charge) ผ่านการเรียกใช้ API เพียงครั้งเดียว
curl https://api.omise.co/charges \
-u $OMISE_SECRET_KEY: \
-d "amount=150000" \
-d "currency=THB" \
-d "return_uri=http://example.com/orders/345678/complete" \
-d "source[type]=shopeepay"
การตั้งเวลาหมดอายุสำหรับรายการ
โดยทั่วไป รายการรับชำระเงินจะมีอายุ 20 นาทีหลังจากการสร้างรหัส
ในกรณีที่ต้องการกำหนดระยะเวลาในการหมดอายุสำหรับแต่ละรายการ สามารถเข้าไปที่ Charge API และระบุระยะเวลาหมดอายุ (timestamp) ที่ต้องการใน field expires_at
(ตั้งเวลาให้รหัสหมดอายุได้ไม่เกิน 60 นาทีหลังจากการสร้างรหัส) หากกรอกข้อมูลถูกต้อง ระบบจะทำการปิดการเข้าถึงคิวอาร์โค้ดเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้แทนระยะเวลาตั้งต้น
curl https://api.omise.co/charges \
-u $OMISE_SECRET_KEY: \
-d "amount=150000" \
-d "currency=THB" \
-d "source[type]=shopeepay"
-d "expires_at=2020-07-01T15:00:00Z"
หากต้องการปิดใช้งานลิงก์ก่อนกำหนด สามารถเรียกใช้ API นี้เพื่อปิดการเข้าถึงลิงก์
curl https://api.omise.co/charges/$CHARGE_ID/expire \
-X POST \
-u $OMISE_SECRET_KEY:
สร้างรายการสำเร็จ
เมื่อร้านค้าสร้างรายการรับชำระเงินขึ้นมาแล้ว จะพบว่าสถานะของรายการแสดงเป็น pending
หรือ status==pending
โดยสถานะของรายการรับชำระเงินสามารถเป็นได้ทั้ง successful
, failed
และ expired
ในส่วนต่อไปเราจะอธิบายวิธีอนุมัติรายการ, การรับ event แจ้งเตือนเมื่อรายการเสร็จสิ้นผ่าน webhook และการตรวจสอบสถานะรายการ
ภาพด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนทั้งหมดในการรับชำระเงินแต่ละรายการ
การอนุมัติรายการรับชำระเงิน
ระบบจะส่งผู้ซื้อไปยังตำแหน่งที่ระบุไว้ใน authorize_uri
เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถดำเนินการอนุมัติรายการรับชำระเงินได้
ร้านค้าสามารถจำลองขั้นตอนการอนุมัติรายการในโหมดทดสอบ โดยเข้าไปที่ authorize_uri
เพื่อปรับสถานะรายการเป็น “สำเร็จ” หรือ “ไม่สำเร็จ” ได้ด้วยตนเอง หลังจากผู้ซื้อทำการอนุมัติรายการเสร็จสิ้น ผู้ซื้อจะถูกส่งไปยังหน้าที่ร้านค้าระบุเป็น return_uri
เอาไว้
การรับ event แจ้งเตือนรายการสำเร็จ
ร้านค้าสามารถรับการแจ้งเตือนเมื่อมีการทำรายการเสร็จสิ้นโดยใช้งาน webhook events
ในการติดตั้งให้ร้านค้ากำหนดตำแหน่งบนเซิร์ฟเวอร์เพื่อรับ webhook events และเพิ่มตำแหน่งเดียวกันนี้เป็น webhook endpoint บนแดชบอร์ด
เมื่อมีรายการเสร็จสิ้น ระบบจะส่ง POST request ไปยัง endpoint นี้ พร้อมทั้งแนบสถานะการตอบกลับของรายการนั้นๆ ไปด้วย
ตัวแปรหลักหรือ key
สำหรับ event object ประกอบไปด้วย charge.complete
และตัวแปร data
ที่มี charge object
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Events API
การตรวจสอบสถานะรายการ
เมื่อได้รับ event ของรายการที่เสร็จสิ้นแล้ว ร้านค้าสามารถตรวจสอบสถานะรายการหรือ status
โดยใช้ Charge API
หากค่าของ charge.status
เป็น successful
หมายถึงว่ารายการรับชำระเงินสำเร็จ หากค่าของ charge.status
เป็น failed
รายการรับชำระเงินนั้นไม่สำเร็จ ร้านค้าสามารถตรวจสอบ failure_code
และ failure_message
ได้ใน charge object เพื่ออ่านคำอธิบายเพิ่มเติม
สาเหตุขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้
รหัสข้อขัดข้อง | รายละเอียด |
---|---|
payment_cancelled |
ผู้ซื้อยกเลิกการชำระเงิน |
payment_expired |
รายการชำระเงินหมดอายุ |
payment_rejected |
รายการถูกปฏิเสธโดยธนาคารผู้ออกบัตร |
failed_processing |
ระบบทำรายการไม่สำเร็จ |
invalid_account |
ไม่พบบัญชีที่สามารถชำระเงินผ่านช่องทางที่เลือก |
insufficient_fund |
วงเงินคงเหลือไม่เพียงพอหรือวงเงินเต็ม |
การคืนเงิน
สามารถทำการคืนเงินแบบเต็มจำนวนหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลา 180 วันนับจากวันทำรายการ โดยสามารถดำเนินการผ่าน refund API หรือหน้าแดชบอร์ด (Dashboard) ได้
ข้อจำกัด
- จำนวนรับชำระขั้นต่ำ:
2000
(THB20.00) - จำนวนรับชำระสูงสุด:
15000000
(THB150,000.00)